Medical Information and Data Exchange Prototype System for Patient Referral System

Surasak Mungsing, Teerin Ketvichit

Abstract


ในการให้บริการสุขภาพ ผู้ป่วยอาจถูกโอนไปรับการรักษาในโรงพยาบาลอีกแห่งหนึ่งที่มีความสามารถในการบริการรักษาที่สูงขึ้น กระบวนการนี้เป็นหลักปฏิบัติทั่วไปในการให้บริการสุขภาพที่เรียกว่าระบบการส่งต่อผู้ป่วย การส่งผู้ป่วยไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลอื่น ๆ จำเป็นต้องส่งสารสนเทศและข้อมูลทางการแพทย์ไปพร้อมกับผู้ป่วยด้วย แต่ระบบสารสนเทศโรงพยาบาลที่มีโครงสร้างฐานข้อมูลที่แตกต่างกันจะไม่สามารถที่จะเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างกันได้  บทความนี้นำเสนอการออกแบบและพัฒนาระบบต้นแบบสำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่จะใช้ในระบบการส่งต่อผู้ป่วย โดยมุ่งเน้นไปที่คุณสมบัติสี่ด้าน ได้แก่ ความครบถ้วนสมบูรณ์ของฟังก์ชั่นที่ต้องการประสิทธิภาพการทำงานของฟังก์ชั่น การใช้งาน และความปลอดภัยของข้อมูล ในงานวิจัยนี้ซอฟต์แวร์ประเภทมิดเดิลแวร์ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการประสานกับระบบแอพพลิเคชั่นที่ใช้ในระบบบริหารโรงพยาบาลที่มีความแตกต่างกันเพื่อเตรียมสารสนเทศและข้อมูลทางการแพทย์เพื่อการส่งต่อผู้ป่วย การทดสอบและประเมินระบบต้นแบบทำโดยผู้เชี่ยวชาญซึ่งเป็นแพทย์ที่มีความรู้ความสามารถด้านระบบคอมพิวเตอร์และมีประสบการณ์โดยตรงกับการส่งต่อผู้ป่วย จำนวน  5 คน  การประเมินความพึงพอใจประเมินทำโดยกลุ่มตัวอย่างผู้ใช้ 1,205 คน ที่เป็นบุคลากรทางการแพทย์และพนักงานที่เกี่ยวข้องกับระบบเวชระเบียนและเป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการส่งต่อผู้ป่วยของสถานพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขของประเทศไทย ผลการทดสอบประสิทธิภาพระบบต้นแบบพบว่า ระบบที่พัฒนาขึ้นสามารถลดเวลาใน    ฝั่งส่ง ด้านการกรองข้อมูลและการลงทะเบียนการส่งต่อรักษาลง ได้ร้อยละ 40 และในฝั่งรับ สามารถลดเวลาการพิจารณาข้อมูลส่งต่อและประวัติผู้ป่วยลงได้ร้อยละ 70  สำหรับผลการประเมินระบบต้นแบบโดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่าอยู่ในระดับดีมากทั้งสี่ด้าน และ ผลการประเมินประสิทธิภาพและความพึงพอใจโดยผู้ใช้ระบบ พบว่าอยู่ในระดับดีทั้งสี่ด้าน นอกจากนี้ผลการสำรวจยังยังพบว่า หน่วยบริการสาธารณสุขที่ให้บริการด้านสุขภาพภายใต้กระทรวงสาธารณสุขของประเทศไทย ได้นำระบบต้นแบบนี้ไปทดลองใช้ในระบบการส่งต่อผู้ป่วยผ่านเว็บเซอร์วิสแล้วจำนวน 2,424 แห่ง

คำสำคัญ : การจัดการ, ระบบส่งต่อ, ความพึงพอใจ, โรงพยาบาล, การเชื่อมโยงข้อมูล

Full Text:

PDF

References


Hussain, M., M. Afzal, H. Farooq Ahmad, Naeem Khalid,Arshad Ali, (2009) “Healthcare Applications Interoperability through Implementation of HL7 Web Service Basic Profile”**IEEE Computer Society, April : pp. 308-313

กระทรวงสาธารณสุข. (2552). คู่มือสุขภาพคนไทยในภาวะวิกฤตเศรศฐกิจ. นนทบุรี : สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.

ธีรินทร์ เกตุวิชิต และ สุรศักดิ์ มังสิงห์. การพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการส่งต่อผู้ป่วยโดยใช้โปรแกรม ไทยรีเฟอร์. ใน: เอกสารประกอบการประชุมระดับชาติด้านเวชสารสนเทศครั้งที่ 2 ประจำปี พ.ศ. 2556, หน้า 43-48.

Warren, J., and others. (2004). Guideliness for the inter - hospital and intrahospital transport of Critically ill patients.

Toman, Ann., and Ferguson, Perry. (2004). How Communication and Co-operation Eased a Patient Transport Crisis. Healthcare Quarterly. 7, 4: 106-107.

Dunn, M, J, G., Gwinnutt, C, L., and Gray, A, J. (2007). Critical care in the emergency department: patient transfer. Emergency Medicine Journal. 24, 1 (September): 40-44.

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 8 เรื่อง มาตรฐานการส่งต่อผู้ป่วย เรื่องมาตรฐานการส่งต่อผู้ป่วย (พ.ศ.2545).

ECMA-404 The JSON Data Interchange Standard.

Glenn D. Israe. Determining Sample Size. Online Referencing, http://www.sut.ac.th/im/data/read6.pdf (accessed 19 March 2015).

ดวงแก้ว สุวรรณดี. การพัฒนาระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลประกันสังคมกับโรงพยาบาลตามมาตรฐาน HL7โดยใช้เว็บเซอร์วิส. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2550.

นลินี ศรีบุญเรือง. การสร้างระบบการส่งข้อมูลทางการแพทย์ผ่านเว็บเซอร์วิสโดยใช้ HL7 V.3 กรณีศึกษาโรงพยาบาลพญาไท 2. ปัญหาพิเศษวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ. คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 2553.

สมเกียรติ จุลอดุง. การจัดรูปแบบและส่งต่อข้อมูลทางการแพทย์โดยใช้มาตรฐาน HL7 Version 3.0 ผ่านเว็บเซอร์วิส. ปัญหาพิเศษวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ, คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 2554.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.